ช่องทางขายของที่ใช่! เลือกถูกที่ ขายดีแน่นอน!
ในยุคดิจิทัลปัจจุบัน การสร้างเว็บไซต์ขายของออนไลน์เป็นสิ่งสำคัญสำหรับธุรกิจที่ต้องการเข้าถึงตลาดที่กว้างขวางและเพิ่มโอกาสในการขายสินค้าทั้งยังสามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้หลากหลายขึ้นดังนั้นการมีเว็บไซต์ขายของออนไลน์จึงเป็นกลยุทธ์ที่ไม่ควรมองข้าม
ยาวไปอยากเลือกอ่าน
การวางแผนและเตรียมความพร้อม
ก่อนที่ทุกคนจะตัดสินใจเลือกช่องทางการขายสินค้าหรือสร้างเว็บไซต์ขายของออนไลน์ ควรจะมีการเตรียมความพร้อมก่อนเพื่อให้สามารถเลือกช่องทางที่เหมาะสมที่สุด โดยการเตรียมความพร้อมนั้นมีขั้นตอนง่าย ๆ คือ
- กำหนดวัตถุประสงค์: ว่าต้องการขายอะไร เช่น เสื้อผ้า, เครื่องประดับ, อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์, หรือสินค้าทั่วไป
- วิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย: ใครคือกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของคุณ และกลุ่มเป้าหมายส่วนใหญ่ใช้งานแพลตฟอร์มไหนมากที่สุด เพื่อให้สินค้าของเราสามารถเข้าถึงลูกค้ากลุ่มนั้นได้
- วางแผนธุรกิจ: เช่น กำหนดงบประมาณ, ช่องทางการจัดส่ง, และการจัดการสินค้าคงคลัง
หลักจากที่ทุกคนวางแผนกันแล้วว่าสินค้าของเราเป็นของประเภทไหน มีกลุ่มเป้าหมายเป็นใครและงบประมาณของเรามีเท่าไหร่ ต่อจากนั้นเราก็เลือกช่องทางขายกันเลย!
เลือกช่องทางการขาย
ช่องทางการซื้อ - ขายสินค้าออนไลน์นั้นมีหลากหลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็น Shopee, Lazada, TikTok หรือแม้แต่การโพสต์ขายสินค้าในโซเชียลมีเดีย เช่น Instragram, Facebook, X และส่วนใหญ่ร้านค้ามักจะมีการขายสินค้าในหลายช่องทางพร้อมกัน รวมทั้งสร้างเว็บไซต์ขายของออนไลน์ เพื่อให้ร้านดูน่าเชื่อถือและง่ายต่อการติดตามข่าวสารและหาข้อมูล รายละเอียดของสินค้า
ข้อดีและข้อเสียของแต่ละช่องทาง
การขายของออนไลน์นั้นมีหลากหลายโดยเราจะแบ่งเป็นช่องทางใหญ่ ๆ 3 ช่องทางที่เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปได้แก่ 1. เว็บไซต์อีคอมเมิร์ซ หรือสร้างเว็บไซต์ขายของออนไลน์ 2.แพลตฟอร์มตลาดออนไลน์ 3.โซเชียลมีเดีย ซึ่งในแต่ละช่องทางนั้นมีทั้งข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันไป
ข้อดีและข้อเสียของการสร้างเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซ
เว็บไซต์อีคอมเมิร์ซ เป็นการสร้างเว็บไซต์ขายของออนไลน์ของตัวเองให้เป็นเจ้าของเต็มตัว
ข้อดี :
- ทำให้สามารถควบคุมการเข้าถึงของลูกค้าได้ และไม่ได้จำกัดแค่ลูกค้าภายในประเทศใดประเทศหนึ่ง แต่ลูกค้าทั่วโลกสามารถเข้าชมเว็บไซต์ของผู้ขายได้
- สามารถออกแบบหน้าตาเว็บไซต์ให้มีเอกลักษณ์เฉพาะของร้านได้อย่างอิสระเนื่องจากเป็นการสร้างเว็บไซต์ขายของออนไลน์ของร้านค้า ทั้งยังสามารถปรับแต่งฟังก์ชันการทำงานของเว็บไซต์ตามความต้องการเฉพาะของธุรกิจ
- ความสะดวกในการจัดการทั้งในด้านระบบจัดการสต๊อก ที่ผู้สร้างเว็บสามารถวางระบบให้สามารถติดตามยอดขายและสต๊อกสินค้าได้ตามเวลาจริง
- ช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลของลูกค้าหรือผู้เข้าชมเว็บไซต์
ข้อเสีย :
- ค่าใช้จ่ายเริ่มต้นสูง โดยการสร้างเว็บไซต์ขายของออนไลน์นั้นมีต้นทุนทั้งค่าพัฒนาและออกแบบเว็บไซต์ รวมทั้งค่าโฮสติ้งและค่าบำรุงรักษาเว็บไซต์
- มีความซับซ้อนในการจัดการเว็บไซต์ เช่นการจัดการข้อมูลต่าง ๆ เช่น ข้อมูลการขาย รายการสินค้า รายการการสั่งซื้อ ที่ผู้ขายต้องดูแลด้วยตัวเอง และยังต้องมีการอัปเดตและบำรุงรักษาอย่างต่อเนื่องเพื่อป้องกันปัญหาทางเทคนิค
- มีการแข่งขันในตลาดสูง เนื่องจากการสร้างเว็บไซต์ขายของออนไลน์นั้นดึงดูดลูกค้าได้ยาก เนื่องจากลูกค้าจะต้องรู้จักสินค้าเราจากช่องทางอื่นก่อนที่จะได้เข้ามายังเว็บไวต์ของเรา และยังต้องสร้างความแตกต่างจากคู่แข่งเพื่อดึงดูดใจลูกค้า
- ต้องมีการป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์และรักษาความปลอดภัยของข้อมูลลูกค้า รวมทั้งต้องมีระบบการชำระเงินที่ปลอดภัยและสามารถป้องกันการทุจริต
ข้อดีและข้อเสียของตลาดออนไลน์
แพลตฟอร์มตลาดออนไลน์ ในประเทศไทยตลาดออนไลน์ที่เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางอย่างเช่น Lazada, Shopee, และที่เพิ่งเข้ามาใหม่ในประเทศไทยอย่าง Temu ช่องทางเหล่านี้จะช่วยให้ผู้ขายสามารถเข้าถึงผู้ซื้อได้อย่างรวดเร็ว โดยไม่จำเป็นต้องสร้างเว็บไซต์ของตัวเอง
ข้อดี :
- เข้าถึงลูกค้าได้กว้างขวางกว่าการสร้างเว็บไซต์ขายของออนไลน์ของตนเอง เนื่องจากตลาดออนไลน์นั้นมีฐานลูกค้าที่ใหญ่ ช่วยให้ธุรกิจสามารถเข้าถึงลูกค้าจำนวนมากโดยไม่ต้องลงทุนในโฆษณาและการตลาดจำนวนมาก
- ร้านค้าจะถูกพบง่ายขึ้นเนื่องจากลูกค้ามักค้นหาสินค้าในตลาดออนไลน์ ซึ่งจากช่วยเพิ่มโอกาสในการขายให้กับร้านค้า
- ต้นทุนต่ำ เนื่องจากการใช้ตลาดออนไลน์ไม่จำเป็นต้องลงทุนในการสร้างเว็บไซต์ขายของออนไลน์และดูแลเว็บไซต์ของตัวเอง แต่อาจเสียค่าธรรมเนียบในบางตลาด แต่ก็ต้นทุนถูกกว่าการสร้างเว็บไซต์ขายของออนไลน์ของตัวเองอย่างแน่นอน
- สะดวกในการจัดการ เนื่องจากตลาดออนไลน์มักมีระบบมาให้ ไม่ว่าจะเป็นระบบการชำระเงินหรือการจัดส่งที่ครบวงจร
- ร้านค้าของผู้ขายจะได้รับการมองเห็นมากขึ้นเนื่องจากตลาดออนไลน์บางแห่งมีเครื่องมือในการโปรโมทสินค้าที่ช่วยเพิ่มการมองเห็น
ข้อเสีย :
- การแข่งขันสูง อาจทำให้การดึงดูดลูกค้าและการขายสินค้าทำได้ยากขึ้น ซึ่งอาจกระทบกับราคาสินค้าที่ขาย เนื่องจากต้องลดราคาลงเพื่อแข่งขันกับคู่แข่ง ทำให้กำไรที่ได้น้อยลง
- มีการเก็บค่าธรรมเนียมบริการจากร้านค้า
- มีข้อจำกัดด้านการออกแบบทำให้การสร้างแบรนด์ของผู้ขายอาจถูกจำกัดโดยข้อกำหนดและรูปลักษณ์ของแพลตฟอร์มซึ่งต่างจากการสร้างเว็บไซต์ขายของออนไลน์
- มีความเสี่ยงด้านความปลอดภัยหรือการจัดเก็บข้อมูลลูกค้า
- มีข้อจำกัดที่เกิดจากนโยบายของแพลตฟอร์มที่อาจมีข้อจำกัดในการขายหรือการจัดการสินค้า
ข้อดีและข้อเสียของโซเชียลมีเดีย
โซเชียลมีเดีย เป็นช่องทางที่จะทำให้ผู้ขายสามารถโปรโมทสินค้าและเข้าถึงลูกค้าได้ง่ายขึ้น ช่องทางที่เป็นที่นิยมได้แก่ Facebook, Instragram, Line shopping
ข้อดี :
- เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้กว้างขวาง เนื่องจากโซเชียลมีเดียมีฐานผู้ใช้งานจำนวนมาก
- ต้นทุนการตลาดต่ำ
- โซเชียลมีเดียช่วยให้สามารถสร้างแบรนด์ได้ผ่านการโพสต์เนื้อหาที่เกี่ยวข้องและสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า
- โซเชียลมีเดียมีเครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูลที่ช่วยให้สามารถติดตามผลลัพธ์ของแคมเปญการตลาดและพฤติกรรมของลูกค้า
- สามารถใช้เนื้อหาภาพและวิดีโอเพื่อดึงดูดความสนใจของลูกค้าและนำเสนอสินค้าของคุณในรูปแบบที่น่าสนใจ
ข้อเสีย :
- มีการแข่งขันสูง อาจทำให้ยากในการดึงดูดความสนใจจากลูกค้า ทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการโฆษณาไม่ต่างจากการสร้างเว็บไซต์ขายของออนไลน์เพื่อเพิ่มการมองเห็นจากกลุ่มเป้าหมาย
- ต้องมีการจัดการความคิดเห็นและข้อความจากลูกค้าอย่างต่อเนื่อง
- ต้องสร้างเนื้อหาและโพสต์อย่างสม่ำเสมอ
- การเปลี่ยนแปลงในอัลกอริธึมของโซเชียลมีเดียอาจส่งผลกระทบต่อการมองเห็นและการเข้าถึงของโพสต์ต่างจากการสร้างเว็บไซต์ขายของออนไลน์
การออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์
ในขั้นตอนนี้หากคุณเลือกขายบนตลาดออนไลน์หรือสร้างเว็บไซต์ขายของออนไลน์ อาจไม่ต้องกังวลใจถึงเรื่องการออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์ เนื่องจากเจ้าของแพลตฟอร์มจะเป็นคนดูแลในเรื่องนี้ แต่หากคุณขายบนโซเชียลมีเดียอาจจะต้องจัดรูปแบบของโพสต์ให้น่าดึงดูดใจลูกค้า และหากคุณเลือกที่จะสร้างเว็บไซต์ขายของออนไลน์เป็นของตัวเอง คุณก็จำเป็นที่จะต้องให้ความใส่ใจในการออกแบบหน้าเว็บไซต์ให้ใช้งานง่ายและน่าดึงดูด เช่น ระบบการจัดการคำสั่งซื้อ, และระบบการชำระเงินที่ปลอดภัย
การตลาดและการโปรโมท
การตลาดออนไลน์เป็นกุญแจสำคัญในการดึงดูดลูกค้าและเพิ่มยอดขาย หากคุณสร้างเว็บไซต์ขายของออนไลน์การใช้เทคนิค SEO (Search Engine Optimization) เพื่อเพิ่มการมองเห็นในผลการค้นหาของ Google ก็เป็นเทคนิคที่สำคัญ และการใช้โฆษณา PPC (Pay-Per-Click) เช่น Google Ads หรือ Facebook Ads, และการตลาดผ่านโซเชียลมีเดีย เช่น Facebook, Instagram, และ Line ก็จะช่วยให้คุณเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้มากขึ้น นอกจากนี้ การสร้างเนื้อหาที่มีคุณค่า เช่น บทความ, วิดีโอ, หรือรีวิวสินค้า จะช่วยดึงดูดความสนใจและสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้า
ช่องทางการติดต่อ
การให้บริการลูกค้าที่ดีเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างความพอใจและความภักดีของลูกค้า การตอบข้อความอย่างรวดเร็วและถูกต้องจะช่วยให้ลูกค้ารู้สึกถึงการดูแลและการให้ความสำคัญ การมีช่องทางการติดต่อที่หลากหลาย เช่น Inbox, อีเมล, หรือเบอร์โทรศัพท์ จะช่วยให้ลูกค้าสามารถติดต่อร้านค้าได้ง่าย และได้รับความพึงพอใจ
การขายของในช่องทางออนไลน์ไม่ว่าจะขายในช่องทางไหนหรือเลือกที่จะสร้างเว็บไซต์ขายของออนไลน์ก็จำเป็นจะต้องวางแผนและศึกษากลุ่มลูกค้าให้ดี เตรียมความพร้อมในทุกด้านเพื่อลดความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น
1001 Click บริษัทรับทำเว็บไซต์องค์กร ธุรกิจ หรือบริษัท รวมถึงเว็บไซต์ขายสินค้าและบริการ และมีบริการให้คำปรึกษาและคำแนะนำต่าง ๆ สำหรับธุรกิจของคุณ หากต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติมสามารเข้าไปดูได้ที่ https://www.1001click.com/
หรือติดต่อขอคำปรึกษาเพิ่มเติมได้ผ่านช่องทาง
- Tel: 081 116 1001
- Line ID: 1001click
- E-mail : info@1001click.com