WEBSITE DESIGN PROCESS เจาะลึกทุกขั้นในการเริ่มทำเว็บไซต์
มือใหม่หลาย ๆ ท่าน ที่อยากสร้างเว็บไซต์ แล้วไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร มักจะเกิดคำถามที่ว่า เราจะทำเว็บแบบไหนดี เราจะตั้งชื่อเว็บไซต์อย่างไรดี เราจะวางโครงสร้างเว็บไซต์อย่างไรดี แล้วเราจะติดตั้ง WordPress บนเครื่องตัวเอง หรือจะติดตั้งบนเว็บโฮสติ้งอย่างไรดี วันนี้เรามีสิ่งที่เรียกว่า Website Design Process หรือ ขั้นตอนการออกแบบเว็บไซต์ ตั้งแต่เริ่มต้นไปจนถึงได้เว็บไซต์ที่ออกมาสมบูรณ์มีประสิทธิภาพกันครับ
แต่ก่อนที่จะเริ่มกระบวนการของ Website Design ควรทำความเข้าใจก่อนครับว่า เว็บไซต์คืออะไร และต้องการสร้างเว็บไซต์เพื่ออะไร สร้างเว็บไซต์ให้ใครเข้ามา เป็นต้นครับ
ยาวไปอยากเลือกอ่าน
เว็บไซต์ คืออะไร ?
คือ สื่อนำเสนอข้อมูลบนโลกออนไลน์ ซึ่งเป็นการรวบรวม หน้าเว็บเพจหลายหน้า เชื่อมโยงกันผ่านทาง Hyperlink โดยใช้ Web Browser ในการเปิดขึ้นมาโดยเฉพาะ ซึ่งทั้งหมดได้ถูกจัดเก็บไว้ในรูปแบบ WWW และเว็บไซต์นั้นถูกสร้างด้วยภาษาทางคอมพิวเตอร์ อย่าง HTML ,PHP , SQL , Java ครับ
หลายคนน่าจะรู้จักเว็บไซต์ดีอยู่แล้ว แต่บางครั้งก็อาจจะเคยได้ยินว่ามีการเรียกเว็บไซต์รูปแบบอื่นอย่าง เว็บเพจ (web page) โฮมเพจ (home page) เป็นต้น ซึ่งปัจจุบัน Website Design Process ไม่ใช่สิ่งที่ยากอีกต่อไป เพราะมีเครื่องมือมากมายให้เลือก เช่น โปรแกรมสำเร็จรูปอย่าง joomla, wordpress, drupal เป็นต้น
แต่ถึงแม้ข้อมูลด้าน Website Design Process จะหาได้ง่ายขึ้น แต่เหล่านักออกแบบเว็บไซต์ก็มักจะคิดถึงกระบวนการออกแบบเว็บไซต์โดยให้ความสำคัญกับเรื่องทางเทคนิคมากกว่า เช่น เรื่องของ Wireframes, Code แต่การออกแบบที่ดีและมีประสิทธิภาพ คือการออกแบบเว็บไซต์ให้สอดคล้องและครอบคลุมกับกลยุทธ์ของธุรกิจ ไปพร้อมๆกันทั้งด้านความสวยงามครับ จึงจะเป็นวิธีที่ช่วยทำให้ผู้ใช้งานเข้าใจสินค้าและบริการในธุรกิจของเรา
ขั้นตอนการเริ่มต้นทำ WEBSITE DESIGN
1.การกำหนดเป้าหมาย (GOAL IDENTIFICATION)
การเริ่มต้น Website Design Process จำเป็นต้องระบุเป้าหมายของการออกแบบเว็บไซต์ มีการตั้งคำถามในการสำรวจเว็บไซต์เพื่อตอบคำถามเป้าหมาย ซึ่งมาลองลิสต์คำถามง่ายๆ เอาไว้ตอบก่อนเริ่มขั้นตอนการออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์กันครับเช่น
- เว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อกลุ่มเป้าหมายใด อายุเท่าไหร่ เพศไหน?
- เว็บไซต์นี้ต้องตอบปัญหาอะไรของกลุ่มเป้าหมาย ?
- เป้าหมายหลักของเว็บไซต์นี้คือเพื่อให้ข้อมูลความรู้, เพื่อขายสินค้า, หรือเพื่อความสนุกสนาน?
- เว็บไซต์ต้องการสื่อข้อความหลักของธุรกิจอย่างชัดเจนหรือเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์การสร้างแบรนด์ที่กว้างขึ้นโดยมุ่งเน้นไปที่จุดเด่นของตัวเอง
- คู่แข่งของเว็บไซต์คือใคร ควรทำอย่างไรให้แตกต่าง
ขั้นตอนนี้ถือว่าเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดของ Website Design Process หากยังไม่สามารถตอบคำถามได้อย่างชัดเจนในกำหนดเป้าหมาย เว็บไซต์ก็มีโอกาสที่จะผิดทิศทางได้ครับ นอกจากการกำหนดเป้าหมายแล้ว อย่าลืมศึกษาและพัฒนาความรู้เกี่ยวกับเว็บไซต์คู่แข่งด้วยนะครับ เพื่อสร้างจุดเด่นและความแตกต่าง
2.การกำหนดขอบเขตของเว็บไซต์ (SCOPE IDENTIFICATION)
ปัญหาที่อาจจะพบเจอสำหรับ Website Design ในช่วงการออกแบบเริ่มต้น คือ สโคปของงานที่ค่อย ๆ เพิ่มขึ้น เพราะมีการพัฒนาหรือเปลี่ยนแปลงเป้าหมายไปในขณะที่ดำเนินการออกแบบเว็บไซต์ ส่งผลให้เกิดความล่าช้า หรือทำงานเกินเป้าหมาย วิธีป้องกันปัญหานี้ คือการนำเครื่องมือมาช่วยสร้างสโคปของเว็บไซต์ ซึ่งก็มีหลากหลายเครื่องมือตามที่สะดวกกัน แต่สำหรับที่เป็นที่นิยมอยู่และใช้ได้ง่าย ก็คือ
- Gantt Chart หรือ แผนภูมิแกนต์ เป็นแผนภูมิแบบแท่งซึ่งจะแสดงรายละเอียดระยะเวลาที่เป็นจริงสำหรับการออกแบบเว็บไซต์ รวมถึงจุดสำคัญต่างๆ ซึ่งจะสามารถช่วยให้เห็นภาพขอบเขตและกำหนดเวลาที่ชัดเจนได้
- Hypothesis Statement หรือ การตั้งสมมติฐานของปัญหาและการแก้ไข ยกตัวอย่างเช่น ตั้งว่าเว็บไซต์ที่กำลังออกแบบนี้มี Feature บ้างอะไรที่จะช่วยให้ผู้ใช้งานเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย : ซึ่งจะมีส่วนประกอบก็คือ เราจะทำอะไร มีอะไรออกมาจากที่เราทำ และผลตอบรับออกอย่างไร เขียน Solutions ออกมาให้เป็นจริงและสอดคล้องกับเป้าหมายหรือบรีฟที่ตั้งไว้ตั้งแต่แรก
- Feasibility Map หรือ แผนผังความเป็นไปได้ เป็นแผนผังที่จะช่วยสโคปงานให้ชัดมากขึ้น ทำให้เห็นว่าอะไรสำคัญอะไรไม่สำคัญ เพื่อหลีกเลี่ยงการทำงานที่ไม่จำเป็น
3. การจัดกลุ่มข้อมูลและเรียบเรียงแผนผังเว็บไซต์ (INFORMATION ARCHITECTURE AND SITEMAP )
การจัดกลุ่มข้อมูลและเรียบเรียงแผนผังเว็บไซต์ หรือ Sitemap เป็นพื้นฐานที่สำคัญสำหรับหลักการ Website Design ให้ออกแบบมาอย่างดี ช่วยให้สามารถอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างหน้าเว็บไซต์ต่างๆ และองค์ประกอบเนื้อหาภายในเว็บไซต์ได้ หากใครไม่รู้จะเริ่ม Sitemap อย่างไร สามารถใช้เทคนิคนี้ได้ครับ
- การจัดลำดับข้อมูล
- การทำให้ผู้ใช้งานตัดสินใจได้เร็ว
- การแสดงข้อมูลโดยการกำหนดผู้ใช้งานบางกลุ่มที่ต้องเห็น
- การใช้สัญลักษณ์ที่ผู้ใช้งานเข้าใจแทนการใช้คำอธิบายยาวๆ
- การกำหนดให้ผู้ใช้งานเข้าใจเว็บไซต์ แล้วจะไปทำอะไรต่อที่ไหน
- การจัดกลุ่มข้อมูลตามความหมายที่กลุ่มผู้ใช้งานนิยาม
- การนำทางผู้ใช้งานภายในระบบ
- การวางเนื้อหาเพื่อนำไปสู่การเข้าถึงที่มากขึ้นของสินค้าหรือบริการ
- การจัดลำดับการเข้าถึงของผู้ใช้งาน
4.การจัดวางองค์ประกอบภาพ (WIREFRAME ELEMENTS)
รูปแบบของ Website design มักจะมีการออกแบบให้เป็นไปตามทิศทางภาพลักษณ์ขององค์กร (Corporate Identity) ซึ่งเป็นวิธีการสื่อสารและดึงดูดผู้ใช้งานได้ดี ดังนั้น การเลือกสี โลโก้ รูปภาพนั้นจึงเป็นส่วนสำคัญในการออกแบบเว็บมากกว่าที่คิด ภาพที่มีคุณภาพสูงทำให้เว็บไซต์ดูเป็นมืออาชีพ แต่ยังสื่อสารข้อความ และช่วยสร้างความไว้ใจให้กับผู้ใช้งานอีกด้วย นอกจากนี้ยังช่วยขยายใจความสำคัญในข้อความโดยผู้ใช้งานไม่จำเป็นต้องอ่านเพิ่ม
สำหรับเทคนิคที่จะมาอำนวยความสะดวกในส่วนของ Website Design ที่อยากแนะนำก็คือ การทำ Wireframes ครับ ซึ่งจะเป็นการร่างโครงร่างหรือแบบร่างของเว็บไซต์ เพื่อให้เห็นภาพรวมว่าหน้าตาของเว็บไซต์จะออกมาในรูปแบบไหนอย่างง่ายๆ การทำ Wireframes แบ่งได้ 3 แบบ
- Low Fidelity Wireframes เป็นการทำไวเฟรมอย่างง่ายโดยใช้แค่รูปร่างรูปทรงมาอธิบาย ข้อดี คือประหยัดเวลา เห็นภาพรวมๆได้เร็วๆ เหมาะกับการทำกับสินค้าที่ต้อง ปล่อยเร็วๆ
- Medium Fidelity Wireframes เป็นการทำไวเฟรมแบบที่มีการใช้ ไอคอนแสดง รูปภาพ ปุ่ม เสียง วิดีโอ มีการเน้นสีในส่วนที่สำคัญ แต่ยังใช้รูปร่างรูปทรงง่ายๆในการนำเสนอ ข้อดี เห็นภาพชัดมากขึ้น เห็นภาพรวมๆได้เร็ว ข้อเสีย อาจจะยังไม่ได้ใกล้เคียงของจริงขนาดที่ต้องนำไปพัฒนาได้
- High Fidelity Wireframes เป็นการทำไวเฟรมที่เหมือนกับเว็บไซต์จริงๆมากที่สุด โดยการใส่ภาพ สี ปุ่ม ไอคอน เนื้อหาที่ใกล้เคียงมากที่สุด ข้อดี เห็นภาพชัด เหมือนสิ่งที่จะทำจริงๆ ใช้พัฒนาต่อไปได้เลย ข้อเสีย ใช้เวลาในการทำมาก
5.การทดสอบผล (TESTING)
การทดสอบเว็บไซต์นั้นเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในส่วนหลังของ Website Design มีเพื่อทำให้มั่นใจว่าเว็บไซต์จะสามารถใช้ได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ตั้งแต่แรก ซึ่งวิธีการ Testing ก็มีหลายวิธีให้เลือกครับ ยกตัวอย่างเช่น
- Requirement Testing : เป็นการการทดสอบในเรื่องของ Code และการทำงานของระบบว่าทำงานถูกต้องตามเป้าหมายที่ต้องการหรือไม่
- User Testing : เป็นการทดสอบการใช้งานในแบบการใช้งานเสมือนจริง เพื่อจำลองปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในระหว่างการเข้าใช้งานเว็บไซต์
- Security Testing : เป็นการ Scan Website ด้วย Software ที่จะตรวจหาช่องโหว่หรือจุดผิดพลาดที่จะเปิดโอกาศให้แฮคเกอร์สามารถเจาะเข้ามาได้ครับ
- Technical Testing ทดสอบการใช้งานด้านระบบเช่น การทดสอบว่ามี Bug หรือไม่ พร้อมทั้งยังมีการทดสอบทำงานร่วมกับ Web Hosting และ Server ว่าติดปัญหาใดๆ ในการติดตั้งบ้างหรือไม่
6.การปรับปรุงและพัฒนา (SITE MAINTENANCE AND DEVELOPMENT)
การพัฒนาปรับปรุงเว็บไซต์ควรมีการตอบสนองกับ พฤติกรรม เทรนด์ ของผู้ใช้งานที่เปลี่ยนไปเพื่อให้เว็บไซต์ของเราสามารถปรับตัวอยู่ได้ในทุกช่วงเวลา ซึ่งเครื่องมือที่จะทำให้รับรู้ได้ว่าผู้ใช้งานมีพฤติกรรมอย่างไรนั้นก็มีเครื่องมืออยู่ครับ ได้แก่
- Google Analytic หนึ่งในตัวช่วยมือดีที่เว็บไซต์ส่วนใหญ่จะใช้กันคงหนีไม่พ้นเจ้าตัวนี้เพราะมีการเก็บ Insight ของผู้ใช้งาน ทำให้เห็นพฤติกรรมได้อย่างชัดเจนว่ากำลังมีแนวโน้มสนใจด้านใด
- SimilarWeb เป็นเว็บไซต์ที่เป็นตัวเปรียบเทียบเว็บไซต์ของเรากับเว็บไซต์คู่แข่งว่ามีการเข้าถึงได้มากน้อยอย่างไรและสามารถดูข้อมูลพฤติกรรมการเข้าเว็บไซต์ของผู้ใช้งานของเราได้อีกด้วย
โดยทั้งหมดนี้ก็เป็นเพียงแค่ Website Design Process บางส่วนที่จะทำให้เกิดเป็นเว็บไซต์ที่มีประสิทธิภาพ การออกแบบเว็บไซต์ จะต้องให้ความใส่ใจในหลายๆ องค์ประกอบ โดยเฉพาะโครงสร้างของเว็บไซต์ เพื่อให้เว็บดูมีความน่าเชื่อถือ และสามารถดึงดูดความสนใจจากผู้ที่พบเห็นได้ ดังนั้นสำหรับคนที่ต้องการทำเว็บไซต์พวกเรา 1001Click ได้ยินให้คำปรึกษาแนะนำ สำหรับการเริ่มต้นสร้างเว็บไซต์ ด้วยทีมงานที่มีคุณภาพและประสบการณ์กว่า 17 ปี เราให้บริการดูแลตั้งแต่เริ่มต้นไอเดีย จนกระทั่งปล่อยเว็บไซต์ อัปเดตระบบหรือข้อมูลหลังบ้าน เรียกว่าครบจบที่เราได้เลย
- สามารถติดต่อเพื่อขอคำปรึกษาได้ที่ 081 116 1001
- Line Id : 1001click
- Email : info@1001click.com